รูปแบบบรรจุภัณฑ์: หนังสือ + 3 CD-Rom | น้ำหนัก: 372 กรัม | ![]() |
![]() |
ภาคต่อของสื่อการสอน Access 2003-2007 เจาะลึกทุกเนื้อหา มากที่สุดในประเทศไทย โดย อ.ธงชัย พยุงภร ราคา 240 บาท หากเราจะพูดถึงเครื่องมือที่จะช่วยจัดการงานทางด้านฐานข้อมูลแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า Microsoft Access จะเป็นเครื่องมืออันดับต้นๆ ที่ผู้ใช้ระดับทั่วไปนึกถึง Microsoft Access จะช่วยให้คุณสามารถสร้างโปรแกรม ประยุกต์ และมีการติดตามที่สวยงาม สามารถใช้งานได้จริง มีความสะดวกเร็วในการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้อง มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับฐานข้อมูล และนอกจากนั้นคุณยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว คุณยังสามารถสร้าง และปรับโปรแกรมประยุกต์และรายงานให้เปลี่ยนไปตามความต้องการทางธุรกิจได้ สื่อการสอนชุด “Access 2003-2007 QuickStart Tutorials” ที่ทางบริษัทเอ็มไอเอส ซอฟท์เทค จำกัด ร่วมกับ อ.ธงชัย พยุงภร ผลิตออกมานี้ เหมาะ สำหรับผู้ใช้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ เนื่องจากมีเนื้อหาที่เจาะลึกอย่างละเอียด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจ ที่ทีมงานของเราพร้อมที่จะนำเสนอให้กับท่านได้มีเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในการศึกษา ของคุณต่อไปได้เป็นอย่างดี Access 2003-2007 QuickStart Tutorials จะมีรวมทั้งสิ้น คือ หนังสือ 2 เล่ม + CD-Rom 6 แผ่น โดยจะแบ่งขายเป็น 2 ชุดคือ • Access 2003-2007 QuickStart Tutorials ชุดที่ 1 • Access 2003-2007 QuickStart Tutorials ชุดที่ 2 (ชุดที่คุณกำลังเปิดชมอยู่นี้) เนื้อหาภายใน:
• จัดการกับ Tables และ Linked Tables เมื่อต้องการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่น • Query ข้อมูลชั้นสูง เพื่อสรุปข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ และ CrossTab Query • สร้าง Forms และ SubForm เพื่อทำหน้าจอ Input ข้อมูลอย่างละเอียด • เทคนิคต่าง ๆ ในการทำ Report-SubReport และกราฟ • เขียน Macro เพื่อทำงานอัตโนมัติภายใน Forms ต่าง ๆ • รูปแบบที่แตกต่างออกไปใน Access 2007 เมื่อเทียบกับ Access 2003 เนื้อหาใน CD แผ่นที่ 4 1. เตรียมไฟล์ก่อนศึกษาการสร้างรายงาน (Reports) - ลำดับจากความรู้จาก CD-ROM ก่อนหน้านี้ - Tables, Queries และ Forms - เตรียมไฟล์ก่อนการศึกษาการสร้างรายงาน (Reports) 2. สร้างรายงานจาก Report Wizard - การสร้างรายงานจาก Report Wizard - ลำดับของ Report Wizard และการเลือก Table และเลือก Fields - การจัดกลุ่ม (Grouping), การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) - รูปแบบรายงานใน Wizard - รูปแบบสีสันใน Report Wizard - การ switch สู่หน้า Design View ของ Report 3. ความหมายของส่วนต่าง ๆ ในรายงานที่สร้างจาก Report Wizard วันที่พิมพ์ และหน้าที่ จำนวนหน้าของรายงาน - การปรับสีสันของ Label สามารถทำได้เหมือนกับการออกแบบ Form - ปรับตำแหน่งและสีสันของหัวข้อรายงาน (Report Title) - การแสดงข้อมูลวันที่พิมพ์ - การแสดงข้อมูลหน้าที่เท่าไร จากทั้งหมดกี่หน้าในรูปแบบ : หน้า 1 / 4 - การอ้าง Page และ Pages - การเขียนสูตรต้องมีเครื่องหมาย = นำก่อนเสมอ 4. การปรับแต่ง Fonts และสีสันหลาย Controls พร้อมกัน และ Field ที่ต้องการใน TextBox กำหนดที่ Control Source - การปรับข้อความของชื่อฟิลด์ให้เป็นภาษาไทย - การปรับรูปแบบและตกแต่งสีสันหลาย ๆ Controls พร้อมกัน - Label กำหนดที่ Caption - ส่วน TextBox กำหนด Field ที่ต้องการที่ ControlSource - การแสดงชื่อกลุ่มสินค้า โดยลาก Field CategoryID มาซึ่งจะมีรูปแบบเป็น ComboBox - การกำหนด Send To Back ให้กับ Control - ความหมายของส่วนของ Detail และ Record 5. การใช้งานในส่วน Preview ของรายงาน และความหมายของแต่ละส่วนของรายงาน โครงสร้างรายงาน - การใช้งานในส่วนของ Preview - การแก้ไขหน้า 2 ที่เป็นหน้าว่างเปล่า เพราะลาก Field เกินขอบเขตของกระดาษ - การ Zoom และ Fit to Page - การดูรายงานแบบ One Page, Two Pages และ Multiple Pages - แต่ละส่วนของ Report และความหมายของ Report Header, Report Footer, Page Header, Page Footer และ Detail - ตำแหน่งที่ปรากฎของ Report Footer ในหน้าสุดท้าย 6. การสร้าง Running Number ของแต่ละ Record - การสร้าง Running Number ในรายงาน - การกำหนด Property ที่ Running Sum 7. การจัดเรียงข้อมูลตามกลุ่มสินค้า และชื่อสินค้า และการซ่อนข้อมูลที่ซ้ำกันใน Record ที่ติดกัน (Hide Duplicates) - การใช้ Sorting and Grouping ที่ ToolBar - การกำหนดให้เรียงข้อมูลตามกลุ่มสินค้า และชื่อสินค้า - การซ่อนกลุ่มสินค้าที่ซ้ำกันของเรคคอร์ดที่อยู่ติดกัน (Hide Duplicates) 8. สร้าง Field ที่เกิดจากการคำนวณระหว่าง 2 Fields ในรายงาน - สร้าง Fields ที่เกิดจากการคำนวณระหว่าง 2 Fields และรูปแบบในการอ้าง Field - จัดรูปแบบของ Controls เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการแสดง Field ที่เพิ่มขึ้นมา 9. การคำนวณยอดรวมของรายงาน โดยแสดงที่ Report Footer - การแสดงยอดรวมของจำนวนสินค้า และมูลค่าของสินค้า - ใช้ฟังก์ชัน Sum เพื่อหายอดรวม - การแสดงยอดรวมจำเป็นต้องแสดงในส่วนของ Report Footer - การกำหนดรูปแบบ Format ของตัวเลข - สร้างเส้นคั่นก่อนแสดงยอดรวม 10. การใส่ Sum ในส่วนของ Page Footer จะไม่สามารถทำได้ และการทำค่าสะสมของข้อมูล - ไม่สามารถ Sum ในส่วนของ Page Footer ได้ - การหาค่าสะสมของข้อมูล โดยการใช้ Running Sum 11. การเน้นข้อมูลตามเงื่อนไข โดยใช้ Condition Formatting - ถ้าจำนวนมีค่าเป็น 0 จะให้มีตัวอักษรเป็นสีแดง ตัวหนา - ถ้าชื่อสินค้าขึ้นต้นด้วย A ให้แสดงพื้นหลังเป็นสีเหลือง และตัวหนา - Expression และ Field Value ในส่วนของ Condition Formatting - การใช้ฟังก์ชัน Left เพื่อตัดตัวอักษรตัวแรก 12. การปรับข้อความในแนวตั้ง Properties ที่น่าสนใจของ Report และ Grid Ruler ของรายงาน - การยกเลิก Error เมื่อมีการลาก Label มา เมื่อไม่ต้องการ Associate กับ Control - การปรับข้อความให้อยู่ในแนวตั้ง - RecordSource ของ Report และ Properties อื่นที่น่าสนใจของ Report - การกำหนด Grid ของ Report และ Snap to Grid - การแสดง Grid หรือไม่ หรือแสดง Ruler หรือไม่ 13. สร้างรายงานใหม่ แบบไม่ใช้ Wizard และกำหนดที่ RecordSource ของรายงานเพื่อดึงข้อมูลมาจาก 2 Tables - สร้างรายงานใหม่แบบไม่ใช้ Wizard - กำหนด RecordSource ของรายงานโดยดึงข้อมูลมาจาก 2 Tables เพื่อดึง Fields ต่าง ๆ จากทั้ง 2 Tables โดยการสร้าง Relation - เทียบกับรายงานแรกซึ่งใช้ ComboBox ในการดึงข้อมูลชื่อกลุ่มสินค้ามาแสดง ไม่ใช่ Relation แบบในตัวอย่างนี้ 14. การสร้าง Grouping ให้กับรายงาน และส่วนของ Group Header และ Group Footer - ไม่จำเป็นต้องเรียงข้อมูลในส่วนของ RecordSource - การกำหนด Grouping ตามกลุ่มของสินค้า - กำหนดให้มีส่วนของ Group Header และ Group Footer - การวาง Layout ของรายงานที่มีการสร้างเป็น Group - จัดรูปแบบรายงานที่สร้างขึ้นเอง โดยไม่ใช้ Wizard - แสดงรูปกลุ่มสินค้าในรายงาน และปรับ Size Mode ให้เป็น Stretch - ดึง Fields ต่าง ๆ ที่ต้องการไว้ในส่วนของ Group Header และ Detail - FieldList ของรายงาน 15. การทำสรุปผลในแต่ละกลุ่ม โดยจัดวางในส่วนของ Group Footer - การจัดทำยอดสรุปในส่วนของ Group Footer - นับจำนวนรายการสินค้าในแต่ละกลุ่ม - คำนวณยอดรวมสินค้าในแต่ละกลุ่ม - การระวังเรื่องการนับให้เลือก Field ที่ไม่เป็น Null ไม่เช่นนั้นจะทำให้นับผิดพลาดได้ - จัดรูปแบบของ Controls และการเลื่อน Controls ต่าง ๆ และการใช้ Send to Back - การใช้ฟังก์ชัน Count และ Sum กับ Field ที่ต้องการคำนวณ 16. สรุปข้อแตกต่างระหว่างการสร้าง Grouping ที่แตกต่างจาก Hide Duplicate - สรุปข้อแตกต่างระหว่างการสร้าง Grouping ซึ่งแตกต่างจากการใช้ Hide Duplicates เมื่อเทียบกับรายงานก่อนหน้า - ข้อดีของการสร้าง Group ทำให้สามารถสร้าง Summary ของ กลุ่มสินค้าได้ - การสร้างเงาให้กับหัวข้อรายงาน (Report Title) - การทำให้แสดง Report Header และ Report Footer - การสร้างเงาให้กับภาพ 17. การสร้าง Running Number รายการย่อยในแต่ละ Group และการกำหนดให้รายงานสรุปที่ Report Footer ให้ขึ้นหน้าใหม่ - การสร้าง Running Number ในแต่ละ Group เมื่อขึ้นกลุ่มใหม่ให้เริ่มนับ 1 ใหม่ที่รายการสินค้าแต่ละตัว - การสร้างยอดสรุปรายงานที่ Report Footer - ตกแต่งรายงานในส่วนของยอดสรุป - การกำหนดให้ Report Footer ให้ขึ้นหน้าใหม่ เพื่อแสดงยอดสรุป - การกำหนด Format ของข้อมูลที่เป็นหมายเลข โดยกำหนดให้เป็น Standard และกำหนด Decimal Place ให้เป็น 0 18. ความหมายของ Can Grow และ Can Shrink และการสร้าง Running Number ในส่วนของ Group (ไม่ใช่รายการย่อย) - ประโยชน์ของ Can Grow เพื่อให้ขยายข้อมูลอัตโนมัติ - การสร้าง Running Number ในส่วนของกลุ่มหลัก - การกำหนด Grouping ให้เรียงจากมากไปน้อย - การซ่อนสิ่งที่ไม่ต้องการแสดง โดยกำหนด Visible เป็น No 19. การกำหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ เมื่อขึ้นกลุ่มใหม่ และการกำหนด Force New Page ในแต่ละส่วนของรายงาน - การกำหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ เมื่อมีการขึ้นกลุ่มใหม่ - การใช้ Force New Page ในส่วนที่ต้องการให้ขึ้นหน้าใหม่ โดยกำหนดเป็น Before Secion หรือ After Section 20. การใส่เลขหน้า และควบคุมให้แสดงเลขหน้าที่เป็นเลขคี่อยู่ด้านขวา เลขหน้าที่เป็นเลขคู่จะอยู่ด้านซ้าย - การใส่เลขหน้าให้กับรายงาน - การใช้ Conditional Formatting ให้เลขหน้าที่เป็นเลขคี่จะอยู่ด้านขวา ส่วนเลขหน้าที่เป็นเลขคู่จะอยู่ด้านซ้าย - การตรวจสอบเลขคู่หรือเลขคี่ ให้ใช้ Mod หมายถึง หารแล้วเหลือเศษเป็นเท่าไร 21. การสร้าง SubReport ในรายงาน - การสร้าง SubReport ในรายงาน - การกำหนด Source Object ของรายงานย่อย 22. โครงสร้างของ SubReport ซึ่งแตกต่างจาก Grouping - ข้อแตกต่างระหว่าง Grouping และ SubReport - การเชื่อมโยงระหว่าง Link Master Fields และ Link Child Fields ทำให้สามารถเชื่อมรายงานหลักกับ SubReport ได้ - เทคนิคการตกแต่งรายงาน และจัดชิดซ้ายให้ตรงกัน - การเลือกส่วน SubReport และการเลือก Controls ย่อยใน SubReport - สามารถแก้ไขรายงานใน SubReport ได้เลย 23. สรุปผลรายงานเพื่อหามูลค่าการขายแยกตามกลุ่ม และแยกตามปี - วิธีการพิจารณาเลือก Tables ที่ต้องการดึงมาเพื่อทำ Query - ทำ Query เพื่อสรุปผลยอด Orders แยกตามกลุ่มและตามปี โดยทำ Query ที่ RecordSource ของรายงาน - ฟิลด์คำนวณใน Query และการเปลี่ยนชื่อฟิลด์ใน Query - ระวังเรื่อง Field ที่อาจซ้ำกันในหลาย ๆ Tables ให้อ้างชื่อ Table และอ้างชื่อฟิลด์ในลักษณะ (Table).(Field) - ตกแต่งรายงาน และเทคนิคการย้าย Control ข้าม Section 24. นำรายงานที่ได้ทำไว้ในหัวข้อก่อนหน้ามาเป็น SubReport และตกแต่งทั้ง Report หลัก และ SubReport - นำรายงานก่อนหน้านี้สร้างเป็น SubReport - สร้างให้ใน 1 รายงานมี 2 SubReports ย่อย - กำหนด Source Object, Link Child Fields และ Link Master Fields ของ SubReport - ตกแต่งรายงานทั้งรายงานตัวหลัก และ SubReport - ตัว Link Child Fields ไม่จำเป็นต้องมี Controls อยู่ในรายงาน แต่จำเป็นต้องมี Fields ที่ต้องการเชื่อมโยงให้อยู่ในรายงาน - ใน SubReport ส่วนของ Page Header จะไม่แสดง ให้ย้ายไว้ใน Report Header แทน 25. สร้าง Query เพื่อทำรายงานที่เป็น Graph ตัวที่ 1 และทำรายงานแบบกราฟ - สร้าง Query เพื่อสรุปยอดขายแยกตามปี - นำ Query ที่ได้มาสร้างกราฟ โดยทำตาม Chart Wizard - เลือกรูปแบบกราฟ และการแก้ไขกราฟ - การนำ Legend และ Title ของกราฟออกไป 26. สร้างกราฟสรุปยอดขายแยกตามกลุ่มสินค้ามาสร้างเป็นกราฟวงกลม (Pie Chart) - สร้าง Query เพื่อสรุปยอดขายแยกตามกลุ่มสินค้า - นำ Query ที่ได้มาสร้างกราฟวงกลม (Pie Chart) - ตัวกราฟใน Report เป็น Unbound OLE Object โดยกำหนดข้อมูลมาจาก RowSource ในกราฟ - ปรับรูปแบบกราฟให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ - ปรับรูปแบบของ Legend - การปรับกราฟให้แสดงชื่อกลุ่มสินค้าแทนที่จะเป็นรหัสสินค้า 27. นำกราฟที่สร้างไว้ทั้ง 2 ตัว มาไว้ใน Report หลัก โดยตัวหนึ่งทำเป็น SubReport อีกตัวหนึ่งใช้วิธี Copy - นำกราฟตัวแรกมาไว้เป็น SubReport ในส่วนของ Report Header - ปรับรูปแบบกราฟให้แสดงรายละเอียดรายงานแสดงมูลค่าในตารางให้ชัดเจน และทำยอดสรุป - การแสดงข้อมูลในลักษณะตารางในกราฟตัวแรก - นำกราฟตัวสอง Copy มาไว้ในอีกรายงานหนึ่ง เพราะเป็น Unbound OLE Object - สรุปส่วนต่าง ๆ ของ Report ที่สร้างขึ้นว่าใน Report หลักมี SubReports 3 ตัว มีกราฟ ซึ่งเป็น Report ที่ค่อนข้างซับซ้อน 28. การ Export Report ออกไปในรูปแบบต่าง ๆ และศึกษาข้อจำกัดในแต่ละแบบ รวมถึง Access SnapShot - การ Export รายงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Excel, HTML - การ Export ไปในรูปแบบ Access Snapshot ซึ่งมีนามสกุลเป็น .snp ซึ่งต้องเปิดโดยใช้ Access Snapshot Viewer - ข้อจำกัดของการ Export แต่ละแบบ - ข้อดีของ Access Snapshot ซึ่งทำให้สามารถส่งทาง Email ไปให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องนำข้อมูลไป 29. การสร้างรายงานในรูปแบบ Labels หรือฉลาก ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถแสดงข้อมูลหลาย Records ใน 1 แถวได้ - การสร้าง Label หรือฉลากจาก Label Wizard และลำดับขั้นตอนในการสร้าง - ขั้นตอนในการเลือก Fields - การกำหนดขนาดของฉลากเอง - กำหนดรูปแบบ 1 แถวให้แสดงได้หลาย ๆ Records - การกำหนดจำนวน Columns หรือจำนวน Records ต่อแถวใน Page Setup และกำหนดที่ Tab Columns - กำหนดให้ข้อมูลเรียงแบบ Down, then Across หรือ Across, then Down 30. สรุปเกี่ยวกับการสร้างรายงานใน Access - สรุปเกี่ยวกับรายละเอียดของการสร้าง Label (ฉลาก) และเน้นจุดที่น่าสนใจ - สรุปเกี่ยวกับการสร้างรายงานใน Access และความรู้ที่ได้จากใน CD-ROM แผ่นนี้และแผ่นที่ผ่านมา เนื้อหาใน CD แผ่นที่ 5 1. เตรียม Databases เพื่อเริ่มศึกษาเกี่ยว Macro - เตรียม Databases เพื่อเริ่มต้นศึกษา Macro ใน Access - สาเหตุที่ไม่สอน Object Pages เนื่องจากใน Access 2007 ได้ตัดทิ้งไป - ใน CD-ROM แผ่นนี้จะเน้นให้ผู้ใช้สามารถใช้ Macro ได้ โดยเขียนโปรแกรมน้อยทีสุด เพื่อต้องการให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการฐานข้อมูลได้ 2. สร้างปุ่มเพื่อเปิดฟอร์มที่ต้องการ - กำหนด Control Wizard ใน ToolBox เพื่อให้สร้างปุ่มขึ้นมาแล้วมี Wizard ของ Controls เกิดขึ้น - เลือก Form Operations และ OpenForm เพื่อเปิด |
3. อธิบายโปรแกรมที่ปุ่ม ซึ่งเกิดจาก Access สร้างให้อัตโนมัติ และ Event OnClick ของปุ่ม
- เปรียบเทียบปุ่มที่สร้างขึ้น กับ SwitchBoard ที่เคยสร้างไว้ใน CD-ROM แผ่นที่ 3
- แกะโปรแกรมที่ปุ่ม วิธีการประกาศตัวแปร และคำสั่งในการเรียก Macro โดยใช้ DoCmd
- การประกาศตัวแปร โดยใช้ Dim X as String
- เปลี่ยนชื่อ Form ในโปรแกรมที่ต้องการเปิด
- ลำดับของโปรแกรมและการดัก Error เมื่อใส่ชื่อฟอร์มที่ไม่ถูกต้อง
4. สร้างปุ่มเพื่อเปิดฟอร์มที่ต้องการ โดยสร้าง Macro ขึ้นใช้เอง
- สร้าง Macro ที่ปุ่มเพื่อเปิดฟอร์ม
- หลักการตั้งชื่อ Macro ให้อ้างอิงกับชื่อฟอร์ม
- Macro : OpenForm
- กำหนดรูปแบบฟอร์มให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ โดยกำหนด Properties Navigation Buttons เป็น No, ScrollBars กำหนดเป็น Neither, Record Selectors ให้เลือกเป็น No และกำหนด Dividing Lines ให้เป็น No
5. การสร้าง Macro ย่อย โดยกำหนด Macro Names ขึ้นมา และ Macro OpenForm
- สร้าง TextBox และตั้งชื่อเพื่อให้สามารถอ้าง Control ที่ต้องการได้
- กำหนด Format และ Default Value ของ TextBox เพื่อข้อมูลเป็นรูปแบบหมายเลข
- การแก้ไข Macro เดิม
- การอ้าง Macro ย่อย และ Macro Names
6. การเปิดฟอร์มแบบมีเงื่อนไข ในรูปแบบ Dialog เปิดแบบอ่านอย่างเดียว และวิธีการอ้าง Controls
- การเปิดฟอร์มแบบมีเงื่อนไข
- Data Mode เลือกเป็น ReadOnly เพื่อให้สามารถดูข้อมูลได้เท่านั้น
- Window Mode เลือกเป็น Dialog เพื่อให้เปิด Popup Windows ขึ้นมา
- ใส่เงื่อนไข เพื่อดึงข้อมูลเฉพาะช่วงรหัสสินค้าที่ต้องการ
- วิธีการอ้าง Control ที่อยู่บน Form โดยใช้ Forms!(FormName)!(Control)
7. การเปิดรายงานตามเงื่อนไขที่ต้องการ ในรูปแบบ Dialog โดยใช้ Macro OpenReport
- การใช้ Macro OpenReport เพื่อเปิดรายงานที่ได้สร้างไว้
- การกำหนด View ให้เป็น Print หรือ Print Preview
- อย่าลืมเลือก Macro Name ย่อย ไม่เช่นนั้นจะทำที่ Macro Name ย่อยตัวแรก
8. การใช้ Macro Close และ Macro MsgBox
- สร้างปุ่ม Close Form โดยใช้ Macro Close ไม่จำเป็นต้องระบุ Form Name
- การใช้ Macro Msgbox เพื่อให้แสดงข้อความเตือน และสัญลักษณ์ของภาพใน MsgBox
9. การเขียนโปรแกรมกับ MsgBox กับการกำหนดปุ่มรูปแบบต่าง ๆ และค่าที่ได้เมื่อกดปุ่มที่ต่างกัน
- การใช้ MsgBox ในรูปแบบการเขียนโปรแกรม โดยเลือก Event Builder
- การทำให้ Msgbox มีปุ่มแบบต่าง ๆ และค่าจากที่เลือกจากการกดปุ่มที่ต้องการ
- สร้าง MsgBox ให้มีปุ่ม OK และ Cancel เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม OK จะได้ค่า 1 ถ้ากด Cancel จะได้ค่า 2
- การอ้างถึง Control ที่อยู่ใน Form ในรูปแบบการเขียนโปรแกรม
10. การปิดฟอร์มแบบมี MsgBox ให้ยืนยันก่อนการปิดฟอร์ม และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ IF…Then…End IF
- การตรวจสอบค่าของ Msgbox ที่ปุ่ม Yes และ No ถ้าผู้ใช้กดปุ่ม Yes จะได้ค่า 6 และถ้าผู้ใช้กดปุ่ม No จะได้ค่า 7
- สร้างปุ่ม Close ให้มีการยืนยันก่อนการปิด Form
- การเขียนโปรแกรมโดยใช้ IF…Then…End IF
- ข้อดีของการเขียนโปรแกรมที่ดีกว่า Macro
- การตรวจสอบค่าว่าผู้ใช้กดปุ่ม OK โดยใช้ vbOK
11. สร้าง Option Group และ Toggle Buttons เพื่อให้สามารถ Filter ข้อมูลเป็นช่วง และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Select Case…End Select
- สร้าง Toggle Buttons ร่วมกับ Option Group เพื่อให้สามารถเลือกช่วงข้อมูลตามที่ต้องการ (Filter)
- การเขียนโปรแกรมต้องเขียนที่ Option Group แล้วตรวจสอบปุ่มที่ Click
- ตรวจสอบปุ่มที่ Click เพื่อทำงานไม่เหมือนกัน โดยการเขียนโปรแกรมแบบ Select Case … End Case
- การเขียนโปรแกรมโดยใช้ DoCmd.ApplyFilter เพื่อ Filter ข้อมูล A-F
- การใช้ Like เพื่อ Filter ข้อมูลเฉพาะ A-F
12. การใช้ Macro Apply Filter และ ShowAllRecords แต่จะใช้วิธีเขียนโปรแกรม ตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้ Click ตามช่วงข้อมูล
- การใช้ Macro Apply Filter และ Show All Records แต่จะใช้วิธีเขียนโปรแกรมแทน
- Apply Filter ใน Case ต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ Click Toggle Buttons ตามช่วงข้อมูล
- การจัดรูปแบบในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้อ่านได้ง่าย
13. การเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับ Record Navigations ทั้งจากการใช้ Wizard และสร้าง Macro เองโดยใช้ GotoRecord
- สร้างปุ่มเกี่ยวกับ Record Navigations
- สร้างปุ่ม Next Record โดยใช้ Control Wizard และอธิบายโปรแกรมที่ปุ่มสร้างขึ้น
- สร้าง Macro เองในการไปที่ Record แรก โดยใช้ GotoRecord
- ความหมายของ OffSet ใน GotoRecord
14. การค้นข้อมูลรหัสสินค้า โดยใช้ Macro GotoControl และ FindRecord
- การค้นข้อมูลรหัสสินค้า
- การใส่ภาพให้กับปุ่ม แล้วภาพจะเก็บใน Access
- การใช้ Macro GotoControl และ FindRecord เพื่อช่วยในการค้นข้อมูล
- ทบทวนการตั้งชื่อ Macro Names ย่อย ๆ
15. ทดสอบการค้นข้อมูลจากชื่อสินค้า จากส่วนแรกของ Field (Start of Field)
- ตรวจสอบการค้น เมื่อไม่พบข้อมูล
- ค้นจากชื่อสินค้า และกำหนด Match ให้เป็น Start of Field
- สามารถอ้างและลำดับในการเขียนเหมือนในหัวข้อก่อนหน้า
- Parameters ต่าง ๆ ของ FindRecord ที่จำเป็นต้องใช้ของกรณีนี้
- ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ Macro ในการค้น
16. การใช้ RunMacro และการใช้ SetFocus แทน GotoControl รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลก่อนการค้น
- การแก้ปัญหาการค้นในกรณีที่ไม่ได้ใส่ข้อมูล หรือใส่ข้อมูลผิดประเภท โดยการเขียนโปรแกรม
- การใช้ DoCmd.RunMacro
- การใช้ If … Else … End If
- การตรวจสอบค่าที่ไม่ได้ป้อน
- การตรวจสอบค่าว่าเป็นตัวเลขหรือไม่ โดยใช้ฟังก์ชัน IsNumeric
- การใช้ .SetFocus ที่เป็นคำสั่งแทน GotoControl
17. การค้นข้อมูลที่ต้องการในเรคคอร์ดต่อไป โดยสร้างปุ่มค้นต่อ (Find Next)
- สร้างปุ่มค้นต่อไป จากเรคคอร์ดปัจจุบัน
- กำหนด Parameter ใน FindRecord โดยกำหนด Find First ให้เป็น No
18. การปรับให้ SwitchBoard ขยายขนาดเต็มพื้นที่อัตโนมัติ โดยใช้ Macro Maximize และ Event OnLoad
- การกำหนดให้ Main SwitchBoard Form ขยายขนาดอัตโนมัติ
- การใช้ DoCmd.Maximize
- รู้จักกับ Event OnLoad ของ Form
- Events ที่น่าสนใจของ Form
19. การควบคุมให้สามารถยกเลิกการลบเรคคอร์ดได้ โดยการเขียนที่ OnDelete และการใช้ SetWarnings
- การเขียนที่ Event ของ Form ตรง OnDelete
- การสร้าง MsgBox ยืนยันก่อนที่จะ Delete ข้อมูล
- การยกเลิกการ Delete ให้กำหนดค่า Cancel เป็น True
- ความหมายของ True/False กับค่า Integer ที่สอดคล้องกัน
- ไม่ต้องมี Confirm ของระบบใน Access ให้กำหนด DoCmd.SetWarnings ให้มีค่าเป็น False
20. ระวังการใช้ SetWarnings ต้องกำหนดให้เป็น True เหมือนเดิม ไม่เช่นนั้นการลบ Objects ต่าง ๆ ใน Access จะไม่มีการยืนยันทั้งสิ้น
- ระวังการใช้ SetWarings ให้เป็น False จะมีผลต่อทั้งระบบของ Access ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อ Table ที่ทำให้ลบเรคคอร์ด ไม่มี Confirm ใด ๆ
- เขียนที่ AfterDelConfirm จะเขียนโปรแกรมให้ SetWarnings ให้เป็น True เหมือนเดิม
21. ดึงข้อมูลใน ListBox ใหม่เมื่อมีการเลือกข้อมูลใน ComboBox โดยการใช้ Requery
- ทบทวนการใส่ข้อมูลใน ComboBox และ ListBox รวมถึงการกำหนด Bound Column และ ColumnWidths
- สร้าง Query ใน ListBox เพื่ออ้างอิงค่าที่เลือกใน ComboBox โดยใช้เทคนิค Forms!Test02!PubID
- การ Requery เพื่อดึงข้อมูลใน ListBox ใหม่เมื่อการเลือกข้อมูลจาก ComboBox
22. สร้าง Macro AutoExec เพื่อให้ทำงานตอนเปิด Database สามารถทำงานแทน Start Up ที่เคยกำหนดไว้
- ยกเลิก Start Up ที่ได้เคยสร้างไว้
- การซ่อนหน้าจอ Database Window และวิธีกำหนดให้แสดงกลับมา
- สร้าง Macro ชื่อ AutoExec เพื่อให้ทำงานอัตโนมัติเมื่อมีการเปิด Database
23. การข้ามขั้นตอน AutoExec ขณะเปิด Database. - การข้ามขั้นตอน AutoExec ขณะเปิด Database
24. การ Convert Database Format และการ Compact and Repair Database
- การ Convert Database Format ไปยัง Format รุ่นต่าง ๆ ของ Access
- ประโยชน์และการใช้ Compact and Repair Database
25. การสร้าง ToolBar ขึ้นใช้เอง และการกำหนดให้ Form ของเราเปิด ToolBar ที่เราสร้างขึ้นให้อัตโนมัติ
- การสร้าง ToolBar ขึ้นใช้เอง
- การกำหนดให้ Form ของเราเปิด ToolBar ให้อัตโนมัติ และปิด ToolBar ให้อัตโนมัติ เมื่อมีการเปิดและปิด Form
- การกำหนดคุณสมบัติของ ToolBar
26. เทคนิคการสร้างเมนูของ Form ต่าง ๆ ขึ้นใช้เอง
- สร้างเมนูใหม่เพื่อใช้ใน Form โดยกำหนดที่ Properties Menu Bar ของ Form
- การเปลี่ยนรูป หรือต้องการเฉพาะข้อความในเมนูแต่ละตัว
- การสร้างเมนูย่อย
- หลังจากใส่เมนู และ ToolBar ให้กับ Form ใน Access แล้วก็จะแทนที่เมนูและ ToolBar ของระบบ
27. การสร้างและประโยชน์ของไฟล์ประเภท MDE
- การสร้างไฟล์ประเภท MDE และประโยชน์
- จำเป็นต้องเปลี่ยนไฟล์ Format ของ Access เป็นของ Access 2003 ก่อน
- ไฟล์ MDE ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าไปแก้ไข Form และ Report
28. ความหมายของ Module และ CD-ROM ใน Series ถัดไป
- ความหมายของ Module : จะเป็นที่เก็บฟังก์ชันเพื่อใช้สำหรับทั้งฐานข้อมูล
- เนื้อหาสำหรับ CD-ROM ใน Series ถัดไปของ Access
- เนื้อหาในแผ่นถัดไป จะเป็นเนื้อหาเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนไปของ Microsoft Access 2007
เนื้อหาใน CD แผ่นที่ 6
1. การติดตั้ง Office 2007 แบบไม่ทับ Office 2003. - ข้อควรระวังในการติดตั้ง Office 2007 เพื่อไม่ให้ทับ Office 2003
2. เตรียมฐานข้อมูลก่อนศึกษา Access 2007 และนามสกุลของไฟล์ database จะเป็น accdb
- เตรียมฐานข้อมูลก่อนศึกษา Access 2007
- สร้างฐานข้อมูลใหม่ ซึ่งจะมีนามสกุล accdb ไม่ใช่ mdb
- สามารถสร้างไฟล์ Format Access แบบเก่าได้อยู่
3. รูปแบบที่เปลี่ยนไปของ Table และ Field ประเภท Date/Time ซึ่งจะมี DateTime Picker
- มีระบบสร้าง Field อัตโนมัติ
- ตำแหน่งของ Design View ของ Table จะเปลี่ยนรูปแบบไป
- รูปแบบ Field Date/Time ที่สามารถแสดง DateTime Piker
4. รูปแบบของ Ribbons และ Mini-Bars ที่มาแทนที่ ToolBar แบบเดิม
- การใช้ Ribbon และ Mini-Bars ที่มาแทนที่ Toolbar เดิม
- การ Minimize Ribbon
5. การ Configure Navigation Pane และจัดรูปแบบให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ และองค์ประกอบส่วนอื่น ๆ ได้แก่ Office Button
- จัดรูปแบบในส่วนของ Navigation Pane ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
- ย่อ/ขยายส่วนของ Navigation Pane
- Navigation Option
- การแสดง System Objects
- ส่วนของ Quick Access ToolBar
- ส่วนของ Office Button จะมีส่วนของการ Compact Database
6. การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ ใน Access Options และ DataSheet แบบสลับสี
- องค์ประกอบต่าง ๆ ในส่วนของ Access Options
- กำหนด Application Title และ Application Icons
- การแสดงข้อมูลในรูปแบบ Tab Documents
- การกำหนด Font ของ DataSheet และกำหนดให้แถวสลับสีระหว่างแถวคี่และแถวคู่
7. การใช้ Quick Search และการสร้าง Total ในส่วนของ DataSheet เพื่อสรุปผลในแต่ละ Fields
- Quick Search ตรงส่วนของ Navigation Buttons
- การทำให้ DataSheet มีส่วนของ Total เพื่อสรุปผล Sum หรือ Count ในแต่ละ Fields
- การกำหนด Row Height ของ DataSheet
- การซ่อนและไม่ซ่อน Columns
- การ Freeze Column
8. การ Import ข้อมูลจาก Access 2000 และการกำหนดรูปแบบของ Sub DataSheet ได้แก่ สีสันที่ต่างไป และยอดสรุปเฉพาะ Sub DataSheet
- การ Import ข้อมูลมาจาก Access 2000
- Sub DataSheet สามารถมี Total ของตัวมันเอง และสามารถมีสีสันของตัวมันเองได้ เป็นคนละส่วนกับ DataSheet หลัก
9. ข้อดีของ Memo Field ที่สามารถเก็บ Version และสามารถเป็น Rich Text Format ได้
- รูปแบบพิเศษของ Memo Field
- การกำหนดให้ Memo Field เป็นรูปแบบ Rich Text Format (RTF) สามารถใส่สีสันได้เหมือน Word
- การเก็บ Version แต่ละครั้งที่มีการแก้ของ Field Memo
10. Field ใหม่ประเภท Attachment และข้อดีที่ดีกว่า OleObject
- จัดการกับ Rich Text Memo เพิ่มเติม
- รูปแบบ Field ใหม่ประเภท Attachment แทนที่ OleObject
- สามารถ Attach ไฟล์หลาย ๆ ประเภทลงใน Attachment Field และสามารถ Attach หลาย ๆ ไฟล์
- เก็บไฟล์ต่าง ๆ ในฐานข้อมูล และสามารถ Save As ไปเป็นไฟล์ได้เหมือนเดิม
11. การใช้ Field Attachment ใน Form และรูปแบบ Layout View ที่ผู้ใช้สามารถจัดหน้าจอ Field ต่าง ๆ ได้เอง
- สร้างฟอร์มใหม่ใน Access
- ดูวิธีการใช้ Field Attachment ใน Form ว่าสามารถเห็นรูปต่าง ๆ ใน Attachment ได้
- เพิ่มรูปแบบ Layout View ทำให้ผู้ใช้สามารถลากเปลี่ยนที่ตำแหน่งของ Control ต่าง ๆ ได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้
- ข้อแตกต่างระหว่าง Layout View และ Form View
- Field ประเภทวันที่ก็จะมี DateTime Picker เช่นเดียวกัน
- ตรวจสอบ Quick Search ใน Form
12. การทำให้ Look Up สามารถเลือกได้หลาย ๆ ค่า (Multiple Values)
- การกำหนดให้ Field สามารถเก็บค่าได้หลายค่า (Multiple Values) โดยใช้ Look up ช่วย
- วิธีการนี้ไม่สามารถทำได้ใน Access ก่อนหน้านี้
13. โครงสร้างรายละเอียดของ Attachment Field และ Multiple Lookup Field ทดสอบโดยสร้าง Query ใหม่
- การปรับ Navigation Pane ให้แยกตาม Object Types
- สร้าง Query เพื่อตรวจสอบ Attachment Field และ Multiple Lookup Field
- องค์ประกอบของ Attachment Field ประกอบด้วย FileData, FileName, FileType
- องค์ประกอบของ Lookup Multiple Values ประกอบด้วย Value
14. รูปแบบใหม่ของ Form : Split Form.
- รูปแบบ Form แบบใหม่ : Split Form ทำให้สะดวกในการค้นหาข้อมูล และเลือก Record ที่ต้องการแก้ไข
15. Properties ที่น่าสนใจของ Form เพิ่มเติม และกำหนดรายละเอียดของ Split Form
- Control ที่เพิ่มขึ้นมาของ Form
- Properties ที่เพิ่มขึ้นมา
- กด F4 จะแสดง Property Windows
- กำหนดให้ Split Form อยู่ในแนวตั้ง และกำหนดรายละเอียดของ Split Form DataSheet
16. Macro ที่สร้างขึ้นใน Form จะเก็บใน Form ไปต้องแยกเป็น Object Macro ต่างหาก (Embedded Macro).
- รูปแบบของ Embedded Macro ซึ่งจะมีข้อดีตรงไม่ต้องแยกเป็น Object Macro ต่างหาก
17. ทดลองสร้าง Report ซึ่งจะมี Layout View เหมือน Form ทำให้ผู้ใช้จัดหน้าจอ Report ได้เองตามตำแหน่งที่ต้องการ
- ทดลองสร้าง Report ใหม่
- ส่วนต่าง ๆ ของ Tools ที่ต้องใช้ในการออกแบบ Report ซึ่ง Tools ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็เหมือนกับ Access 2003 เพียงแต่ต้องหาตำแหน่งที่จะ Set ให้พบเท่านั้น
- Layout View ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลื่อน ปรับขนาดของ Fields ต่าง ๆ ใน Report ได้
18. สรุปปิดท้าย และสวัสดี
- สรุปปิดท้าย และสวัสดี
- ใน Series ต่อไปจะเน้นการเขียนโปรแกรม และตัวอย่างการใช้งานจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น